ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน แก้ไขได้หรือไม่

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

ปัญหาที่มักพบเจอได้บ่อยหลังจากการฉีดฟิลเลอร์นั้นมีหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ผลข้างเคียงที่พบเจอได้บ่อย คือ หลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ผลข้างเคียงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่มีสาเหตุมาจากอะไร จึงจะมาบอกสาเหตุที่ทำให้หลังฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ควรป้องกันไม่ให้เกิดจะดีที่สุด

ฉีดฟิลเลอร์ เป็นก้อน

ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน อาการเป็นอย่างไร

เมื่อฉีดฟิลเลอร์เข้าไปแล้ว แทนที่ฟิลเลอร์จะเรียบเนียนไปกับผิว หรือแก้ไขปัญหาที่กังวล แต่กลับจับตัวเป็นก้อน ไม่เรียบเนียนกับผิว นูนขึ้นมา หรือเมื่อแสดงสีหน้าต่าง ๆ ก็จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าฟิลเลอร์ขึ้นมาเป็นก้อนบริเวณที่ฉีด ซึ่งต้องสังเกตด้วยว่าก้อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นก้อนที่เป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นหรือก้อนฟิลเลอร์ที่ผิดปกติ

ก้อนฟิลเลอร์ที่ปกติ

ก้อนที่เห็นนั้นต้องเป็นก้อนที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องรู้สึกได้จากการคลำ อาจจะคลำแล้วรู้สึกเป็นก้อนลึก ๆ ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นเรื่องปกติหลังจากทำการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งอาการบวมนี้จะค่อยๆ ยุบลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งคลำแล้วไม่รู้สึกว่าเป็นก้อน

ก้อนฟิลเลอร์ที่ติดเชื้อ 

หากคลำได้ก้อนร่วมกับอาการบวมแดง แสดงว่าเป็นอาการที่ผิดปกติ อาจมีการติดเชื้อจากทางรูเข็ม ถ้ามีการติดเชื้อจะปวดมากกว่าปกติ บวมกดเจ็บมากบริเวณก้อนฟิลเลอร์นั้น ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ร้อนกว่าบริเวณอื่น ต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษา

ฉีดฟิลเลอร์ แล้วเป็นก้อน

สาเหตุของการฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

เลือกใช้ชนิดฟิลเลอร์ที่ไม่ถูกต้องกับตำแหน่งที่ฉีด

ฟิลเลอร์แต่ละยี่ห้อนั้นถูกผลิตออกมาหลายรุ่น มีเนื้อเจลที่มีความหนาแน่นต่างกัน แต่ละรุ่นนำไปใช้บริเวณที่ต่างกัน เพราะผิวบนใบหน้าของมนุษย์นั้นมีความหลากหลาย และความหนาบางของผิวในแต่ละตำแหน่งก็แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นฟิลเลอร์ที่มีขนาดของโมเลกุลมีความหนาแน่นสูง จะมีเนื้อเจลที่ค่อนข้างคงตัวและแข็ง จึงเหมาะกับการนำมาฉีดในผิวชั้นลึก ถ้านำมาฉีดในผิวชั้นตื้นก็อาจทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ เช่น ใช้ฟิลเลอร์ที่มีความแข็งและเหนียวค่อนข้างมาก นำมาใช้ฉีดบริเวณใต้ตา ฟิลเลอร์จึงจับตัวเป็นก้อนแข็งใต้ตา

ฉีดฟิลเลอร์ไม่ตรงกับตำแหน่งที่มีปัญหา

การใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะสม มีปริมาณเกินความจำเป็นในจุดที่ต้องการฉีด รวมถึงการฉีดริ้วรอยลึกเกินไป หรือฉีดเติมร่องลึกที่ตื้นเกินไป

ผู้ฉีดฟิลเลอร์ไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

แพทย์ควรมีความรู้เกี่ยวกับฟิลเลอร์แต่ละชนิดที่นำมาฉีด รวมถึงโครงสร้างของใบหน้า ที่สำคัญคือ มีศิลปะด้านการปรับรูปหน้าเพื่อให้คนไข้ได้รับผลที่พึงพอใจจากการฉีดฟิลเลอร์ แพทย์ที่ขาดความรู้และประสบการณ์จะทำให้มีความเสี่ยงในการฉีดฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ เพราะแพทย์อาจจะฉีดฟิลเลอร์ไม่ถูกตำแหน่ง เช่น ฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อหรือฉีดเหนือกล้ามเนื้อในปริมาณมากๆ จนทำให้เห็นเป็นก้อน

ใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

คือใช้ฟิลเลอร์ที่ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นฟิลเลอร์ปลอมที่ไม่สามารถสลายได้ ราคาถูก ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงเกิดฟิลเลอร์เป็นก้อน และเมื่อมีปัญหาจากฟิลเลอร์ปลอม สิงที่ทำได้ คือ ต้องขูดออก หรือศัลยกรรมผ่าตัดออกเท่านั้น

ฉีดฟิลเลอร์ปลอม เป็นก้อน

ผลข้างเคียงหลังรับการรักษา ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน

การรักษาหลังจาก ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ถ้าเป็นก้อนผิดปกติ อาจเกิดจากฉีดฟิลเลอร์ผิดชั้นหรือมีการอักเสบ แต่ต้องเป็นก้อนจากการฉีดฟิลเลอร์แท้เท่านั้น การรักษาอาการฟิลเลอร์เป็นก้อน คือ การฉีดสลายฟิลเลอร์ และการทานยาฆ่าเชื้อร่วมด้วยค่ะ โดยการที่ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อนนั้นเกิดจากการฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่ไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ ดังนั้น เพื่อลดโอกาสการเกิดก้อน

  • ควรเลือกคลินิกที่ได้รับมาตรฐาน
  • ใช้ฟิลเลอร์แท้เพื่อให้สามารถแก้ไขได้
  • แพทย์ควรมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการฉีดฟิลเลอร์ เพื่อป้องกันการฉีดฟิลเลอร์แล้วผิดชั้นทำให้เกิดก้อน

วิธีการแก้ไขฟิลเลอร์เป็นก้อน

การฉีดสลายฟิลเลอร์

วิธีนี้เหมาะสำหรับการแก้ไขฟิลเลอร์ชนิด Hyaluronic Acid เท่านั้น ตัวยาที่ใช้ฉีดสลายคือ ไฮยาลูโรนิเดส (Hyarulonidase :HYAL) โดยแพทย์ผู้ทำการแก้ไขจะผสมส่วนผสมของยาในปริมาณที่เจือจางและเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ การทำงานของไฮยาลูโรนิเดสนั้นจะเข้าไปทำให้ลดการกักเก็บน้ำ ไขมัน และทำลายการยึดเกาะของสารเติมเต็มอย่างฟิลเลอร์ ช่วยทำให้ฟิลเลอร์เกิดการคลายตัวออกหลังฉีดสลาย จะเห็นผลหลังฉีดทันทีในบางส่วน และต่อเนื่องไปอีก โดยระยะเวลาออกฤทธิ์ของยาสลายจะอยู่ที่ประมาณ 1-3 วัน หากต้องการฉีดแก้ไขฟิลเลอร์ ควรจะทิ้งระยะห่างหลังฉีดสลายประมาณ 5-7 วัน

การขูดฟิลเลอร์

เป็นการแก้ไขสำหรับผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภทกึ่งถาวร ที่ไม่สามารถสลายเองได้ ฟิลเลอร์ประเภทนี้เมื่อขูดออกจะสามารถนำฟิลเลอร์ออกได้ประมาณ 60-70% เท่านั้นไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด

การทำศัลยกรรมผ่าตัดฟิลเลอร์ออก

วิธีนี้จะใช้กับการแก้ไขผู้ที่ฉีดฟิลเลอร์ประเภท ซิลิโคนเหลว ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่และแข็งมาก หรืออยู่นานจนมีพังผืดมากเกาะเป็นจำนวนมาก การผ่าตัดโดยส่วนใหญ่จะไม่สามารถเอาออกได้ทั้งหมด 100% ขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งที่ฉีดมา อยู่ใกล้ส่วนไหนของใบหน้า บางบริเวณจะต้องเลี่ยงเพื่อป้องกันอันตราย เช่น เส้นประสาท เส้นเลือดสำคัญบนใบหน้า

ฟิลเลอร์เป็นก้อนทำอย่างไร

ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดีให้ปลอดภัย ไม่เป็นก้อน

  • ใช้ฟิลเลอร์แท้ ที่สามารถตรวจสอบได้ มีเลขผลิตเท่านั้น
  • แพทย์ต้องมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญโดยตรง
  • สถานพยาบาลที่ฉีดฟิลเลอร์ต้องมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ มีเลขใบอนุญาตประกอบกิจการ 11 หลัก บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมดูไม่ลับตา 

ควรสังเกตอาการอื่น ๆ นอกจาก ฟิลเลอร์เป็นก้อน

การอักเสบ

อาการ บวม แดง ผื่นคัน หรืออาการปวดที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่ขึ้นโดยปกติ และหายขาดภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้ายังไม่หายหลังจากการฉีด 1 สัปดาห์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อสอบถามอาการและรักษา

อาการห้อเลือด

เนื้อเยื่อแข็งตัว ผิวหนังเปลี่ยนสี หรืออาการผิดปกติอื่นใด ในบริเวณที่ฉีด ฟิลเลอร์ขมับ เนื่องจากหลอดเลือดแดง มีความดันโลหิตเลือดค่อนข้างสูง เมื่อเกิดการอุดตันในหลอดเลือดแดง จะสามารถเห็นได้ชัดเลยว่าผิวหนังขาดเลือด ผิวหนังจะค่อนข้างแดงหรือคล้ำ สีผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเข้ม เพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณปลายทางไม่ได้ ผิวหนังก็จะตายทันที หลังจากที่ฉีดจะต้องสังเกตตัวเอง เพราะเมื่อเกิดการอุดตันหลอดเลือดดำ

การติดเชื้อ

การติดเชื้อลักษณะจะบวม ช้ำ หรือเป็นหนอง ซึ่งผลข้างเคียงเหล่านี้ในทางการแพทย์จะให้ ทานยาปฏิชีวนะ และยาลดบวม โอกาสในการติดเชื้อก็จะลดน้อยลงพอสมควร แต่ในกรณีที่ดื้อยา จะมีการทานยาปฏิชีวนะเพิ่มมากกว่า 1 ตัว

ตำแหน่งที่นิยมฉีด สลายฟิลเลอร์

บริเวณที่มีการฉีดสลายฟิลเลอร์บ่อย มีตำแหน่งใดบ้าง

ฉีดสลายฟิลเลอร์ใต้ตา

เกิดจากการฉีดฟิลเลอร์ที่ชั้นผิวหรือตื้นเกินไป ทำให้ฟิลเลอร์นูนขึ้นเหนือชั้นกล้ามเนื้อ มองเห็นเป็นก้อน ผิวไม่เรียบเนียน หรือฉีดฟิลเลอร์แล้วไปโดนเส้นเลือดบริเวณรอบดวงตา ซึ่งเป็นอันตราย อาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ ต้องรีบฉีดสลายฟิลเลอร์

ฉีดสลายฟิลเลอร์หน้าผาก

เกิดจากฉีดฟิลเลอร์แล้วหน้าผากเป็นคลื่น เพราะฉีดในชั้นผิวที่ตื้นเกินไป เมื่อเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้หน้าผากเป็นคลื่น เทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ที่ถูกต้องควรฉีดในชั้นเยื่อหุ้มกระดูกเท่านั้น หรือเกิดจากใช้ปริมาณฟิลเลอร์หน้าผากมาเกินไป ทำให้หน้าผากผิดรูป ไม่เป็นธรรมชาติ ไม่สมส่วน นูนเกินไปเหมือนหัวปลาทอง

ฉีดสลายฟิลเลอร์ปาก

เกิดจากการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่มากเกินไป ทำให้ปากออกมาอวบอิ่มเกินพอดี ปากใหญ่ ปากเจ่อ ดูไม่เป็นธรรมชาติ ไม่รับกับรูปหน้า

ฉีดสลายฟิลเลอร์คาง

เป็นการฉีดเพื่อแก้ไขปัญหาคางดูยาวแหลมเกินพอดี เหมือนเป็นแม่มด หรือย้อยลงไม่ธรรมชาติ แม้จะใช้ฟิลเลอร์แท้ เกิดจากฉีดฟิลเลอร์คางในชั้นที่ตื้นเกินไป เมื่อเวลาผ่านไปเนื้อของฟิลเลอร์จะถูกกล้ามเนื้อมัดนี้ดึงมารวมกันเป็นก้อน ทำให้เวลาพูด เวลายิ้ม จะเห็นคางย้อย คล้ายคางแม่มด แบบผิดรูปได้

สรุป

การป้องกันไม่ให้ฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน เพื่อความปลอดภัยควรฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ที่มีประสบการณ์ในคลินิกสถาน พยาบาลที่น่าเชื่อถือได้ อย่าเอาใบหน้าของเราไปเสี่ยงเพราะสิ่งที่ได้กลับมาอาจไม่คุ้มค่า และเพื่อผลลัพธ์ของฟิลเลอร์จะได้ออกมาสวยและปลอดภัย ไม่ต้องมาฉีดสลายแก้ไขให้เสียเงินซ้ำซ้อน เสียเวลา รวมถึงเสียความมั่นใจ

"รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับความงาม โดยทีมแพทย์ DoctorsAesthetic"

ทีมแพทย์ RWC

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *