รอยจุดด่างดำที่ปรากฏอยู่ตามใบหน้า หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ‘กระ’ สำหรับบางคนอาจเป็นเหมือนเครื่องประดับเพิ่มเสน่ห์ให้กับใบหน้า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีรอยนั้นแล้วสวยดูดี กลับกลายเป็นทำให้ใบหน้าของคนนั้นดูแย่ลง ดังนั้นการรักษารอยกระก็เป็นจำเป็นสำหรับพวกเขา
สารบัญ
- กระ คืออะไร
- ประเภทของกระ
- กระ เกิดจากสาเหตุใด
- กระ อันตรายหรือไม่
- การรักษากระ
- Dual Yellow Laser เลเซอร์กระ
กระ คืออะไร
กระ เกิดจากการที่เซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเม็ดสีมากขึ้นผิดปกติเมื่อถูกแสงแดด ลักษณะจะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาล พบได้บนใบหน้า โดยเฉพาะกลุ่มสีบริเวณดั้งจมูก หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย มักเกิดในคนผิวขาวมากกว่าคนผิวดำ คนที่มีพ่อแม่ เป็น กระ จะมีโอกาสเป็น กระ มากกว่าคนทั่วไป ยิ่งถ้ามีปัจจัยกระตุ้นเม็ดสีให้เจริญเติบโต จะทำให้ปัญหากระนั้นรักษาได้ยากมากขึ้น เช่น หากตากแดดจะทำให้จำนวนกระเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้
ประเภทของกระ
- กระตื้น : มีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ มักพบบริเวณที่สัมผัสแดดมาก เช่น โหนกแก้มทั้ง 2 ข้าง หรือจมูก กระตื้น เกิดจากเซลล์เม็ดสีใต้ผิวหนังทำงานผิดปกติ
- กระลึก : มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นสีน้ำตาล เทา ดำ ขอบไม่ชัด เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดสีบริเวณชั้นหนังแท้ โดยจะพบตั้งแต่แรกเกิด และถูกกระตุ้นโดยรังสี UV จากแสงแดด ร่วมกับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้น
- กระเนื้อ : มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลเข้ม พบบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง โดยอาจขึ้นเป็นตุ่มเนื้อเล็กๆ แล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น นูน และมีสีเข้มขึ้น
- กระแดด : มีลักษณะเป็นจุดหรือปื้นเรียบๆ สีน้ำตาลหรือสีดำขนาดเล็ก ขอบชัด พบบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดบ่อยๆ เช่น ใบหน้า แขน ขา เป็นต้น ส่วนใหญ่เกิดในผู้ที่มีผิวขาวและมีอายุ
กระ เกิดจากสาเหตุใด
แสงแดด
ยิ่งเผชิญแสงแดดเป็นเวลานาน ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เมลาโนไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ผลิตสารสีเมลานินผลิตเม็ดสีชนิดนี้เพิ่มขึ้น เพื่อใช้ช่วยป้องกันอันตรายจากแสงแดดด้วยการสะท้อนและดูดซึมรังสียูวี ส่งผลให้ผิวดำคล้ำลงหลังถูกแสงแดด สารเมลานินที่ผลิตออกมามากเกินยังทำให้เกิดกระหรือทำให้กระมีสีเข้มขึ้นได้
สีผิว
คนที่มีผิวขาวหรือซีดที่มีสารเมลานินน้อยอยู่แล้ว เมื่อเผชิญแสงแดด เม็ดสีที่เพิ่มขึ้นจึงไม่สม่ำเสมอ เกิดเป็นกระแทนที่ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำสม่ำเสมอ ดังนั้นคนที่มีผิวขาวจึงมีโอกาสเป็นกระได้มากกว่า
พันธุกรรม
นอกจากแสงแดดและสีผิว ความเสี่ยงทางพันธุกรรมก็เป็นอีกปัจจัยหลักร่วมด้วย นั่นหมายความว่าแม้จะต้องเผชิญแสงแดดเหมือนกัน แต่โอกาสที่จะเกิดกระของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน
กระ อันตรายหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว กระเนื้อด้วยตัวของมันเองไม่มีพิษสงอันตรายอะไร และไม่มีวันกลายเป็นมะเร็งผิวหนังด้วย แต่เนื่องจากความที่เป็นเนื้องอกจึงไม่หยุดโต จะขยายขนาดไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ และบางครั้งมีสีค่อนข้างเข้ม ดำ เกิดเพิ่มอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นตามผิวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดความกังวลว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งอาจจะเกิดตามการเกิดผิวหนังอักเสบรุนแรง ผิวหนังไหม้จากแสงแดดเผา หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับมะเร็งของระบบทางเดินอาหาร
การรักษากระ
- ครีมกำจัดกระ กระสามารถทำให้จางลงได้ด้วยการใช้ครีมที่ประกอบด้วยตัวยาไฮโรควินิน (Hydroquinone) และกรดโคจิก (Kojic Acid) ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งจ่ายยาจากแพทย์ แต่ส่วนผสมดังกล่าวต้องอยู่ในอัตราส่วน 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
- สารกลุ่มเรตินอยด์ สารนี้จะพบเป็นส่วนผสมในครีมกำจัดกระต่าง ๆ การเลือกใช้ครีมกำจัดกระอาจมองหาส่วนประกอบที่เป็นสารเหล่านี้ ได้แก่ เทรติโนอิน (Tretinoin) ทาซาโรทีน (Tazarotene) และอะดาพาลีน (Adapalene)
- การใช้แสงผสม (Intense Pulsed Light Treatments) วิธีนี้คล้ายกับการทำเลเซอร์แต่ใช้แสงแบบผสมแทนเลเซอร์
- การผ่าตัดด้วยความเย็นจัด (Cryosurgery) อีกวิธีในการกำจัดกระ ด้วยการใช้ไนโตรเจนเหลวแช่แข็ง แต่อาจมีข้อยกเว้นคือไม่สามารถรักษากระได้ทุกจุด
- การผลัดเซลล์ผิวหนัง (Chemical Peels) การลอกหน้าด้วยน้ำยาเคมีเพื่อทำให้กระจางลง รวมถึงส่งผลให้การสร้างเม็ดสีของผิวที่ผิดปกติดีขึ้น
- การรักษาด้วยเลเซอร์ เลเซอร์หลากหลายชนิดสามารถช่วยให้รอยกระเลือนลงได้ การใช้เลเซอร์เป็นวิธีที่ง่าย ปลอดภัย ผลตอบสนองค่อนข้างดีแตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดและจำนวนครั้ง
Dual Yellow Laser เลเซอร์กระ
Dual Yellow Laser คือ เลเซอร์แสงคู่ที่สามารถจัดการปัญหาฝ้ากระอย่างอ่อนโยน มีความปลอดภัย ไม่รุนแรง เลเซอร์สีเหลืองและเลเซอร์สีเขียวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับฝ้ากระและยับยั้งเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเม็ดสี ปัญหาฝ้ากระที่ปรากฎจะดูจางลง อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นเลเซอร์เพื่อรักษาผิวหน้าโดยไม่ทำให้เรารู้สึกเจ็บขณะทำแต่อย่างใด จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ยาชา ไม่ว่าสีผิวแบบใดก็สามารถรับรักษาได้ ฟื้นฟูให้สภาพผิวกลับมาแข็งแรง เมื่อเข้ารับการรักษาไปแล้ว จะสามารถสังเกตผลลัพธ์ได้ตั้งแต่ครั้งแรก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
สรุป
กระ ถือว่าเป็นปัญหาผิวหนังที่ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย แต่มีผลต่อรูปลักษณ์ภายนอกอย่างมาก การรักษากระอาจไม่สามารถทำให้หายได้อย่างถาวร แต่ก็สามารถทำให้กระดูจางลงได้ อย่าเพิ่งตัดใจที่จะเลิกรักษา ให้เหล่านวัตกรรมความงามนี้ช่วยให้คุณดูดีขึ้น คืนใบหน้าสวยใสให้กลับคืนมา